ชั้นปีที่1 เรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)เรียนวิชาความรู้พื้นฐานที่จะนำไปใช้ต่อในชั้นพรีคลินิกและคลินิก รวมไปถึงวิชาที่เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง เช่น สุขภาวะร่วมสมัย เทคนิคการเรียนรู้ ศิลปวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์ ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
หลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน
หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาแพทยศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) วิชาเอกตจวิทยา หลักสูตรปริญญาโทที่ผสมผสานการเรียนการสอน การทำวิจัยและการฝึกอบรมทางการแพทย์ เทียบเคียงได้การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาได้รับทั้งความรู้ในแง่การวิจัยและการบริการดูแลผู้ป่วยอย่างครบวงจร คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา สำเสร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย หรือต่างประเทศที่ที่คณะกรรมการอุดมศึกษารองรับ ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตไม่ต่ำกว่า 3.0 สามารถอ่าน ฟัง พูด เขียน ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ช่องทางการติดต่อ แพทย์ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธุรการสาขาวิชาโรคผิวหนัง หมายเลขโทรศัพท์ 02-201-1141, 02-201-1211 ในวันและเวลาราชการ
หลักสูตรแพทย์ผู้ช่วยวิจัย
หลักสูตรแพทย์ผู้ช่วยวิจัยสาขาวิชาโรคผิวหนัง (Postgraduate Research Fellow in Dermatology) คือหลักสูตรสำหรับแพทย์ที่ผ่านการเพิ่มพูนทักษะแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิบัติงานด้านการวิจัยของสาขาวิชาฯ เพื่อเพิ่มคุณภาพของงานวิจัย และพัฒนาความสามารถในการดำเนินการวิจัยด้านโรคผิวหนังให้แก่แพทย์ผู้ช่วยวิจัย แพทย์ผู้ช่วยวิจัยมีหน้าที่หลักคือ ปฏิบัติงานเป็นผู้ช่วยงานวิจัยของสาขาวิชาฯ ตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น รวบรวมและคัดกรองผู้เข้าร่วมในงานวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้ในงานวิจัย ตรวจร่างกายและการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการประเมินผู้ป่วย การบันทึกข้อมูล รวมถึงเตรียม Manuscript เพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ และนำเสนอผลงานวิจัย เป็นต้น ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต ปฏิบัติงานเพิ่มพูนทักษะครบ 1 ปี และไม่มีภาระชดใช้ทุน หากเคยได้รับการอบรมหรือมีประสบการณ์ด้านการวิจัยจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ช่องทางการติดต่อ แพทย์ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธุรการสาขาวิชาโรคผิวหนัง หมายเลขโทรศัพท์ 02-201-1141, 02-201-1211 ในวันและเวลาราชการ
หลักสูตรตจศัลยศาสตร์
หลักสูตรตจศัลยศาสตร์ สาขาวิชาโรคผิวหนัง (Fellowship in Dermatologic Surgery) คือหลักสูตรสำหรับแพทย์ที่สนใจงานด้านตจศัลยศาสตร์ เช่น การทำหัตถการทางผิวหนัง การผ่าตัดผิวหนัง เลเซอร์ การฉีดเพื่อความงาม การฉีดเส้นเลือดขอด หัตถการของเล็บ การผ่าตัดปลูกถ่ายเซลล์เม็ดสี เป็นต้น แพทย์จะปฏิบัติงานและดูแลผู้ป่วยร่วมกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่าง ๆ ของตจศัลยศาสตร์ รวมทั้งทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ และนำเสนอผลงานวิจัย เป็นต้น ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาด้านตจวิทยามาแล้วอย่างน้อย 2 ปี ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน หรือแพทย์หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาตจวิทยา ช่องทางการติดต่อ แพทย์ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธุรการสาขาวิชาโรคผิวหนัง หมายเลขโทรศัพท์ 02-201-1141, 02-201-1211 ในวันและเวลาราชการ
หลักสูตรแพทย์ศึกษาดูงาน
หลักสูตรโรคผิวหนังทั่วไป ทางสาขาวิชาโรคผิวหนังเปิดรับแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ แพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัว และแพทย์เพิ่มพูนทักษะที่สนใจ สามารถเลือกศึกษาดูงานได้ เป็นระยะเวลา 1-4 สัปดาห์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคผิวหนังที่พบบ่อยได้ สามารทำหัตถการและทำการรักษาผู้ป่วยเบื้องต้น รวมทั้งส่งต่อแพทย์เฉพาะทางได้อย่างเหมาะสมได้ หลักสูตรตจศัลยศาสตร์ ทางหน่วยตจศัลยศาสตร์เปิดรับแพทย์ประจำบ้านตจวิทยา แพทย์หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาตจวิทยา แพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ตกแต่ง รวมทั้งแพทย์ผู้สนใจงานด้านตจศัลยศาสตร์ สำหรับดูงานระยะสั้น 2-4 สัปดาห์ แพทย์ดูงานจะได้สังเกตการณ์ผู้ป่วยร่วมกับแพทย์ผุ้ช่วยอาจารย์และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่าง ๆ ของตจศัลยศาสตร์ เช่น การดูแลผู้ป่วยทำหัตถการทางผิวหนัง การผ่าตัดผิวหนัง เลเซอร์ การฉีดเพื่อความงาม การฉีดเส้นเลือดขอด หัตถการของเล็บ การผ่าตัดปลูกถ่ายเซลล์เม็ดสี เป็นต้น ช่องทางการติดต่อ แพทย์ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธุรการสาขาวิชาโรคผิวหนัง หมายเลขโทรศัพท์ 02-201-1141, 02-201-1211 ในวันและเวลาราชการ